♥Welcome to blogger Miss.petcharat pudas♥

วันจันทร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2556


ครั้งที่ 18


วันนี้มีเรียนชดเชย
 ทำการทดลองให้อาจารย์ดู และต้องงาน

สิ่งประดิษฐิ์ 2 ชิ้น คือ ของเล่นวิทยาศาสตร์และมุม

วิทยาศาสตร์

และใบงานทั้งของการทดลองของเล่นวิทยาศาสตร์ และ

มุมวิทยาศาสตร์

ครั้งที่ 17

วันนี้อาจารย์ได้ให้สรุปองค์ความรู้ที่ได้มาในวิชาการจัด

ประสบการณ์

วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยตลอดทั้งเทอมผ่านการทำ 

Mindmapping เขียนลงในกระดาษระบายสีให้สวยงาม









ครั้งที่ 16


ในวันนี้อาจารย์นัดทำอาหาร คือ ไข่ตุ๋นทรงเครื่อง





ออกมาเป็นครูสอน และมีนักศึกษาที่ทำเป็นออกมาทำและแสดงเป็น

นักเรียน ซึ่งไข่ตุ๋นที่ทำมีรสชาตอร่อย ไม่แข็งจนเกินไป และมีขั้น

ตอนและวิธีทำดังนี้

ส่วนประกอบและเครื่องปรุง1. ไข่ไก่ 2 ฟอง


2. เนื้อกุ้ง (แกะเปลือกออกทั้งหมด)


3. ต้นหอมซอย


4. แครอท 
 (ผักสามารถเปลี่ยนได้ตามความต้องการค่ะ)

5. น้ำเปล่า

8. ซีอิ้วขาว


ขั้นตอนวิธีทำไข่ตุ๋น

1. เริ่มอย่างแรกด้วยการทำน้ำซุปก่อนค่ะ นำน้ำเปล่า 
ใส่หม้อตั้ง

ไฟ ต้มให้ได้ที่ระวังอย่าให้เกิดฟอง 

หมายเหตุ : ถ้าไม่สะดวกในการหาส่วนประกอบสามารถใช้ผงซุ

สำเร็จปรุงเป็นน้ำซุปได้ค่ะ

2. เติมไข่ไก่  ซีอิ้วขาว (เค็มมากหรือน้อยตามใจชอบค่ะ) จาก

นั้นค่อยๆเติมน้ำซุปปลาลงไปในชามไข่ระหว่างนี้ก็ตีไข่ไก่ไปด้วยค่ะ

3. กรองไข่ด้วยกระชอนตาถี่ จะได้เนื้อไข่เนียนๆค่ะ

4. ใส่น้ำตั้งซึ่งด้วยไฟแรงจนน้ำเดือดแล้วค่อยวางถ้วยไข่ลงไปนึ่ง 


นึ่ง 10 นาที ใช้ไฟอ่อน

5. เติมแครอท (หรือผักต่างๆตามชอบ) ,กุ้ง บนหน้าไข่ตุ๋น ปิด


ฝานึ่งต่ออีก 5 นาที

6. โรยหน้าด้วยต้นหอมซอยเป็นอันเสร็จเรียบร้อย พร้อมเสริฟค่ะ


ข้อแนะนำ : เราสามารถใส่ส่วนประกอบไม่ว่าจะเป็นกุ้งสับ หมูสับ 


ผักต่างๆ ลงไปด้านล่าง แล้วค่อยเทไข่ที่เตรียมไว้ตามลงไป จาก

นั้นทำการนึ่งได้ตามปกติ จะได้ไข่ตุ๋นทรงเครื่องอีกหนึ่งเมนูง่ายๆ

ทำได้เองในบ้านค่ะ

วันพฤหัสบดีที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2556

 ครั้งที่ 15


การเรียนการสอน

ได้ให้ทำกิจกรรมกลุ่ม คือ การเขียนแผนการจัด

ประสบการณ์ในสิ่งที่เด็กอยากรู้ ซึ่่งก็ได้เขียนแผนเกี่ยวกับการ

ทำอาหารสำหรับเด็ก

 ครั้งที่ 14



การเรียนการสอน

 ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ติดภาระกิจราชการ

 งานที่ได้รับมอบหมายคือ เตรียมจัดรูปเล่มที่ไปศึกษาดูงาน

 ครั้งที่ 13


การเรียนการสอน

 ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากอาจารย์ติดภาระกิจ

ราชการ

   งานที่ได้รับมอบหมายคือ จัดเตรียมรูปเล่มที่ไปดูศึกษางาน

ครั้งที่ 12



การเรียนการสอน 

  ศึกษาดูงาน สาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา 

จังหวัดนครราชสีมา และ โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา จังหวัด 

บุรีรัมย์   วันที่ 27 - 28 สิงหาคม 2556

ภาพขณะที่ดูงาน





ภาพบบรรยากาศ








 ครั้งที่ 11



การเรียนการสอน


อาจารย์ได้ให้ทำงานที่รับ

มอบหมายดังนี้


- ทำการทดลองวิทยาศาตร์

-  ประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์ 

- การทำว่าวจากใบไม้

ครั้งที่ 10

การเรียนการสอน

     -  นัดหมายการไปศึกษาดูงาน ที่ โรงเรียนสาธิต

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาและโรงเรียนลำปลาบมาศ

พัฒนา   จ.บุรีรัมย์   ในวันที่  27 - 28  สิงหาคม  2556

     -   ตรวจบล็อก พร้อมให้คำแนะนำ เพื่อเป็นแนวทางในการ

ปรับปรุงแก้ไขให้สมบูรณ์

     -   แจกแจงหน้าที่ในการไปศึกษาดูงานของแต่ละคน

วันเสาร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2556



ครั้งที่ 9

วันนี้ทางสาขาปฐมวัยได้จัดกิกจกรรมโครงการ กายงาม ใจดี ศรี

ปฐมวัย อาจารย์จึงได้ให้นักศึกษาไปเข้าร่วมกิจกรรมนี้ ซึ่งดิฉันได้รำ

ในงานนี้ด้วย

มารยาท เป็นพฤติกรรมที่แสดงออกทางกาย วาจา ที่สะท้อนออก

มาจากจิตใจ  เป็นข้อปฏิบัติของบุคคลที่แสดงต่อผู้อื่นเพื่อการอยู่

ร่วมกันอย่างสงบสุข มารยาท เป็นระเบียบแบบแผนการประพฤติที่ดี

งามอันแสดงถึงพฤติกรรมที่สุภาพเรียบร้อย ละมุนละไมทั้งทางกาย 

วาจาโดยมีใจเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมให้แสดงออกได้อย่างเหมาะ

สม เป็นองค์ประกอบย่อยของวัฒนธรรมซึ่งเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ

ที่สมควรจะถ่ายทอดสืบต่อไป มารยาทไทยเป็นกิริยามารยาทที่

 คนไทยได้สร้างสรรค์ให้เหมาะกับลักษณะนิสัยของคนไทยและ

สภาพแวดล้อมของประเทศไทย ดังนั้น กิริยามารยาทในแต่ละท่า

แต่ละแบบต่างๆงดงามและถูกต้องตามหลักของกายวิภาคและมีความ

ทันสมัยอยู่ตลอดกาล






ครั้งที่ 8 

อยู่ในช่วงสอบกลางภาค อาจารย์ได้สั่งงานให้นักศึกษาได้ร่างงานประดิษฐ์ของเล่นเกี่ยวกับวิทยาศาสร์ทั้งของเล่นเข้ามุม และการ
ทดลอง เพื่อส่งในอาทิตย์หน้า

ครั้งที่ 7

กระบวนการทางวิทยาศาสตร์

การเรียนเเบบโครงการ (Project Approach)






การเรียนการสอนแบบโครงการ  (  Project  Approach  )  ได้นำ
แนวคิดของ  John  Dewey  มาประยุกต์เป็นรูปแบบการเรียนการ
สอน  โดยมีหลักสำคัญคือ  การพัฒนาเด็กสามารถทำได้ด้วยกา
รให้เด็กเป็นผู้รู้จักแสวงหาความรู้  ความร่วมมือและการมีปฏิสัมพันธ์
กับผู้อื่น  เพื่อค้นคว้าหาคำตอบในเรื่องที่ตนเองสนใจ  เด็กสามารถ
สร้างการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ในตัวเด็กเอง
                โครงการการคือ  การสืบค้นหาข้อมูลอย่างลุ่มลึก  ตาม
หัวข้อเรื่องที่เด็กสนใจ  เน้นให้เด็กกระทำอาจเป็นรายบุคคลหรือราย
กล่มก็ได้  ดครงการนั้นจะต้องประกอิบด้วยทฤษฏีและหหลักการ  มี
การดำเนินงานเป็นขั้น  ๆ  โดยใช้วิชาหลาย  ๆ  วิชาที่เกี่ยวข้องมา
บรูณาการ  เพื่อให้เกิดการเรียนรู้  ระยะเวลาทำโครงการขึ้นอยู่กับ
เรื่องที่เด็กสนใจ  
กระบวนการ
                โครงการถือเป็นการเรียนรู้ที่เต็มไปด้วยความหมาย 
 เหมาะกับพัฒนาการเด็ก  เป็นการศึกษาอย่างลุ่มลึกในช่วงเวลาที่
สามารถได้ตามความสนใจของเด็ก  โดยมีกิจกรรมหลักในการทำ
โครงการดังนี้
1.กิจกรรมสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในชั้นเรียน  เป็นกิจกรรมที่
เด็กจะใช้ตั้งแต่เริ่มดครงการจนสิ้นสุดโครงการ  เพื่อแสดงความคิด
เห็นแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันแก้ปัญหาด้วยกัน
2.กิจกรรมทัศนศึกษา  เป็นกิจกรรมที่เน้นให้เด็กได้สัมผัส  รับรู้  
สังเกตและมีปฏิสัมพันธ์  จากสิ่งที่ปรากฏด้วยตัวเอง  ณ  สถานที่จริง 
3.กิจกรรมสืบค้น  เป็นกิจกรรมที่เด็กจะต้องทำการค้นคว้าเพื่อหา
ข้อความรู้ที่ตนเองต้องการ  อาจมาจากหนังสือ  บุคคล  สถานที่  
Internet  ด้วยการอ่าน  สอบถาม  สนทนา  เพื่อให้ได้ข้อมูลลุ่มลึก
สามารถนำมาสนับสนุนโครงการให้บรรลุเป้าหมาย
4. กิจกรรมนำเสนอผลงาน  ซึ่งอาจนำเสนอโดยการอธิบาย  บรรยาย
หรือจัดแสดง  เมื่อสิ้นสุดโครงการ  เพื่อแสดงให้เห็นถึงความรู้
ความเข้าใจในสิ่งที่เด็กได้เรียนรู้จากโครงก

วันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2556


ครั้งที่ 6

การทดลอง เรื่อง ลูกโป่งไฟฟ้า

อุปกรณ์ 1. ผ้าขนสัตว์หรือถุงเท้า
              
              2. เศษกระดาษ

               3. ลูกโป่ง


วิธีทำ

1. เป่าลูกโป่งแล้วผูกให้แน่น ถูลูกโป่งด้วยผ้าขนสัตว์ เช่นถุงมือ หรือถุงเท้าก็ได้

2. ถือลูกโป่งจ่อเหนือเศษกระดาษเล็กๆ แล้วดูว่าเกิดอะไรขึ้น
     เมื่อเกิดไฟฟ้าสถิตบนพื้นผิว การถูลูกโป่งด้วยผ้าขนสัตว์ทำให้เกิดการสะสมประจุไฟฟ้า เรียกว่าไฟฟ้าสถิต โดยอนุภาคเล็กๆ เรียกว่าอิเล็กตรอนจะถ่ายเทจาผ้าขนสัตว์ไปให้ประจุลบแก่ลูกโป่ง ประจุลบนี้จึงดึงดูดประจุบวกในกระดาษและแรงดึงดูดมากพอที่จะดูดกระดาษเล็กขึ้นมา
ต่อมาจะเป็นของเล่น 

เป่าเพลงกันเถอะ
อุปกรณ์ 1.หลอดดูด 20 หลอด 2. กระดาษแข็ง ขนาด 10 X 10  3. กรรไกร 4. เทปกาวสองหน้า 5. กาว

วิธีทำ
1. ติดเทปกาวสองหน้า 2 ชิ้นบนกรดาษแข็งที่ขอบตรงข้ามกันให้

ยาวตลอดความยาวของกระดาษแข็ง ลอกกระดาษรองเทปกาวออก


2. ติดหลอดบนกระดาษแข็งโดยให้พาดทับแถบกาวทั้งด้านบน และด้านล่างหลอดติดเรียงกันให้ปลายหลอดเลยออกมาพ้นขอบกระดาษเป็นแนวเดียวกัน

3. ตัดด้านล่างของหลอดออกเป็นแนวทะแยง กะให้หลอดแรกยาวประมาณ 10 ซม. และหลอดสุดท้ายยาวเต็มที่

วิธีการเล่น ถือขลุ่ยหลอดให้ด้านบนหลอดอยู่ใกล้ริมฝีปากล่าง เป่าตลอดแนวบนเพื่อทำเสียง
สรุป ยิ่งเป่าแรงการสั่นสะเทือนยิ่งมากเสียงจึงยิ่งดัง หลอดสั้นจะให้เสียงสูง









ครั้งที่ 5



วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาออกไปนำเสนองาน ของประดิษฐ์ที่เกี่ยว

กับวิทยาศาสตร์ ซึ่งของฉันได้ทำ



ลูกโป่งเฮลิคอปเตอร์ ซึ่งเกี่ยวกับแรงดันอากาศ

อุปกรณ์ 1. ลูกโป่ง    2.  หลอดกาแฟ  3. เข็ม  4. ตะเกียบ

วิธีทำ

นำหลอดกาแฟที่พันสก๊อตเทปไว้ตรงกลาง เสียบเข้าไปในลูกโป่งพัน

หนังสติ๊กไว้ให้แน่นพอสมควร อีกส่วนหนึ่งคือตะเกียบพันข้างบนด้วย

เข็มเพื่อทำแกน เอาเข็มเสียบเข้าไปในหลอด บิดปากหลอดให้เป็นรูป

ตัวเอว เป่าลมเข้าไปในลูกโป่ง

การทดลอง การที่หลอดหมุนเป็นวงกลมได้เพราะแรงดันของอากาศ

 เมื่อปล่อยให้ลมไหลออกจากลูกโป่งทำให้เกิดแรงดันอากาศส่งผล

ให้หลอดหมุนได้จาก




ครั้งที่ 4

     วันนี้อาจารย์ได้นำกล้องของเล่นที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์

จากนั้นอาจารย์ก็ได้เปิด CD เรื่อง มหัศจรรย์ของน้ำ ให้นักศึกษาดู

ก็จะมีการทดลอง โดยเอาผลไม้ไปปั่นแล้วบีบดูว่ามีน้ำอยู่ในผลไม้

หรือไม่ อย่างไร สรุป สิ่งต่างๆที่อยู่บนโลกนี้ล้วนมีน้ำเป็น

ส่วนประกอบ ซึ่งมนุษย์จะมีน้ำอยู่ในร่างกาย 70%

ส่วนผักผลไม้จะมีอยู่ 90%

คุณสมบัติของน้ำ

ของแข็ง

ของเหลว

แก๊ส

โดยการทดลองก็คือ ต้มน้ำแข็งจนเดือด จนกลายเป็นของเหลว ถ้า

เราต้มต่อไปก็จะมีไอขึ้นมา จากนั้นเอาจานที่มีน้ำแข็งไปวางไว้ข้าง

บน น้ำแข็งถูกไอน้ำจึงกลายเป็นหยดน้ำ (การควบแน่น)

ต่อมาเป็นการทดลอง แครอทลอยน้ำ ใส่น้ำลงไปในแก้ว จากนั้นใส่

เกลือลงไป ซึ่งเกลือจะมีน้ำหนักจึงมีโมเลกุลมากกว่า จึงมีแรงดัน

แครอทให้ลอยน้ำได้

ต่อมาเป็นการทดลองเกี่ยวกับแรงกดดันของน้ำ เราจะใส่น้ำเข้าไปใน

ขวดหนึ่งใบแล้วเจาะรูสามระดับเรียงกันลงมา ลองปิดรู เพื่อทำการ

ทดลองจะเห็นได้ว่าน้ำที่อยู่ด้านล่างสุดมีแรงกดดันมากสุดเพราะมี

แรงน้ำจากข้างบนกด สรุป แรงกดดันของน้ำ ขึ้นอยู่กับระดับน้ำ ยิ่ง

ลึกมาก ยิ่งมีแรงกัดดันมาก



วันพฤหัสบดีที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 3


    อาจารย์ได้สรุปเนื้อหาจากที่เรียนในสัปดาห์ก่อนหน้านี้



วันจันทร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 2

อาจารย์ได้ให้นักศึกษาจับกลุ่มทำกิจกรรมเกี่ยวกับความหมาย ความสำคัญ

กระบวนการทางวิทยาศาสตร์

   วิทยาศาสตร์หมายถึง ความรู้ที่ได้มาจากการศึกษาปรากฏการณ์ธรรมชาติ ซึ่งสามารถแสดงหรือ

พิสูจน์ได้ว่าถูกต้อง และเป็นความจริง โดยใช้กระบวนการแสวงหาความรู้ ทางวิทยาศาสตร์ แล้วจัด

ความรู้นั้นเข้าเป็นระเบียบ เป็นหมวดหมู่

   ความสำคัญของวิทยาศาสตร์ ทำให้คนได้พัฒนาวิธีคิด   ทั้งความคิดเป็นเหตุเป็นผล 

  คิดสร้างสรรค์  คิดวิเคราะห์  มีทักษะสำคัญในการค้นคว้าหาความรู้   มีความสามารถใน

การแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ   สามารถตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลหลากหลายและประจักษ์

พยานที่ตรวจสอบได้    วิทยาศาสตร์เป็นวัฒนธรรมของโลกสมัยใหม่  ซึ่งเป็นสังคมแห่ง

ความรู้  ทุกคนจึงจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาให้รู้วิทยาศาสตร์  เพื่อที่จะมีความรู้ความ

เข้าใจโลกธรรมชาติและเทคโนโลยีที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้น   และนำความรู้ไปใช้อย่างมี

เหตุผล   สร้างสรรค์  มีคุณธรรม 

ครั้งที่ 1

      อาจารย์ได้พูดเกี่ยวกับแนวการสอนในรายวิชา และพูดถึงวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก

ปฐมวัยอย่างคร่าวๆ

 เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่มีความอยากรู้อยากเห็นต่อสิ่งแวดล้อมอยู่ตลอดเวลา เพราะเป็นวัย

ที่มีการพัฒนาทางสติปัญญา สูงที่สุดของชีวิต ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็น

ทักษะที่ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยสามารถคิดหาเหตุผล แสวงหาความรู้ สามารถแก้ปัญหา

ได้ตามวัยของเด็ก ควรจัดกิจกรรมให้เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเองจากสิ่งแวดล้อมรอบ

ตัวทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ อันเป็นกระบวนการขั้นพื้นฐานหรือทักษะเบื้อง

ต้นที่ควรส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยได้รับการพัฒนา มี 7 ทักษะกระบวนการ คือ ทักษะการ

สังเกต ทักษะการจำแนกประเภท ทักษะการวัด ทักษะการสื่อความหมาย ทักษะการลง

ความเห็นจากข้อมูล ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปส และสเปสกับ

เวลา และทักษะการคำนวณ